กิจกรรมควรเลี่ยง หลังผ่าตัดกระดูกสันหลัง
กิจกรรมควรเลี่ยง หลังผ่าตัดกระดูกสันหลัง
กระดูกสันหลังเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ซึ่งกระดูกสันหลังของมนุษย์นั้น จะมีตั้งแต่ส่วนต้นคอ ทรวงอก ส่วนเอว ไปจนถึงอุ้งเชิงกราน มีหน้าที่หลักเป็นแกนกลางของโครงสร้างกระดูกของลำตัว และมีเส้นประสาทไขสันหลังวิ่งอยู่ทางด้านหลังของโพรงเส้นประสาท ด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้นและไลฟ์สไตล์การaใช้ชีวิตโดยเฉพาะคนวัยทำงานที่มักนั่งทำงานอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน หรือมีการออกกำลังกายที่มากขึ้น มีแนวโน้มอาจส่งผลไปให้มีปัญหาข้อต่อและหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมมากขึ้น นำไปสู่ปัญหาอาการปวดเรื้อรัง ส่งผลเสียต่อชีวิตและการงาน
อย่างไรก็ตาม หลังจากการรักษาด้วยการประคับประคองอาการ เช่น การกินยา แล้วยังไม่เห็นผล หรืออาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาให้รักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดด้วยกล้อง Endoscope เป็นหนึ่งในนวัตกรรมการผ่าตัดกระดูกสันหลังในปัจจุบัน ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
การผ่าตัดด้วยกล้อง Endoscope
หนึ่งในเครื่องมือสำหรับช่วยในการผ่าตัดกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลัง (Endoscopic Spine Surgery) ที่ช่วยเพิ่มความแม่นยำ และประสิทธิภาพในการรักษา โดยลดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อข้างเคียง ซึ่งจะใช้เทคนิคการส่องกล้องแบบรูเดียว ซึ่งจะมีขนาดกล้องมาตรฐานอยู่ที่ 8-12 มม. หรือแบบสองรูที่กล้องมีขนาด 4 มม. และแยกรู เพื่อใส่เครื่องมือช่วยในการรักษาผู้ป่วย
หลักการทำงานของกล้อง Endoscope
กิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope
- ไม่ควรก้มตัว และแอ่นหลัง เป็นเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์
- ไม่ควรยก หรือลาก แบกของหนักเกิน 2 กก. เป็นเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์
- ไม่เอื้อมหยิบของบนที่สูง เป็นเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์
- ห้ามเล่นกีฬาบางชนิด เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล เป็นเวลา 12 สัปดาห์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
โทร. 0 2109 2222 ต่อ 10122 , 10145
ติดตามช่องทางออนไลน์อื่นๆ ของโรงพยาบาลบางปะกอก 1
Website : https://www.bangpakok1.com/
Facebook : https://bit.ly/3Rfgimm
กระดูกสันหลังเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ซึ่งกระดูกสันหลังของมนุษย์นั้น จะมีตั้งแต่ส่วนต้นคอ ทรวงอก ส่วนเอว ไปจนถึงอุ้งเชิงกราน มีหน้าที่หลักเป็นแกนกลางของโครงสร้างกระดูกของลำตัว และมีเส้นประสาทไขสันหลังวิ่งอยู่ทางด้านหลังของโพรงเส้นประสาท ด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้นและไลฟ์สไตล์การaใช้ชีวิตโดยเฉพาะคนวัยทำงานที่มักนั่งทำงานอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน หรือมีการออกกำลังกายที่มากขึ้น มีแนวโน้มอาจส่งผลไปให้มีปัญหาข้อต่อและหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมมากขึ้น นำไปสู่ปัญหาอาการปวดเรื้อรัง ส่งผลเสียต่อชีวิตและการงาน
อย่างไรก็ตาม หลังจากการรักษาด้วยการประคับประคองอาการ เช่น การกินยา แล้วยังไม่เห็นผล หรืออาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาให้รักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดด้วยกล้อง Endoscope เป็นหนึ่งในนวัตกรรมการผ่าตัดกระดูกสันหลังในปัจจุบัน ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
การผ่าตัดด้วยกล้อง Endoscope
หนึ่งในเครื่องมือสำหรับช่วยในการผ่าตัดกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลัง (Endoscopic Spine Surgery) ที่ช่วยเพิ่มความแม่นยำ และประสิทธิภาพในการรักษา โดยลดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อข้างเคียง ซึ่งจะใช้เทคนิคการส่องกล้องแบบรูเดียว ซึ่งจะมีขนาดกล้องมาตรฐานอยู่ที่ 8-12 มม. หรือแบบสองรูที่กล้องมีขนาด 4 มม. และแยกรู เพื่อใส่เครื่องมือช่วยในการรักษาผู้ป่วย
หลักการทำงานของกล้อง Endoscope
แพทย์ผู้ผ่าตัดจะทำการเจาะแผล จากนั้นจึงสอดกล้องเข้าไปในจุดที่แพทย์จะทำการผ่าตัด ซึ่งข้อดีของการใช้กล้อง Endoscope คือ แพทย์สามารถมองเห็นระหว่างทำการผ่าตัดได้ชัดเจนมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเปิดแผลใหญ่ จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ การพิจารณาเลือกการรักษาด้วยการส่องกล้อง Endoscope จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ และโรคของผู้ป่วยแต่ละราย
แนวทางดูแลและฟื้นฟูตัวเอง หลังการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่องกล้องแบบ Endoscope
การผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยกล้อง Endoscope เป็นกล้องที่มีกำลังขยายสูง ช่วยให้แพทย์มองเห็นจุดที่ต้องทำการผ่าตัดได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงหรือข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น รวมถึง ยังใช้วิธีการเจาะแผลขนาดเล็ก จึงทำให้ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดสามารถฟื้นตัวได้เร็ว เจ็บแผลน้อย และสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้นกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่กิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope
- ไม่ควรก้มตัว และแอ่นหลัง เป็นเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์
- ไม่ควรยก หรือลาก แบกของหนักเกิน 2 กก. เป็นเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์
- ไม่เอื้อมหยิบของบนที่สูง เป็นเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์
- ห้ามเล่นกีฬาบางชนิด เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล เป็นเวลา 12 สัปดาห์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
โทร. 0 2109 2222 ต่อ 10122 , 10145
ติดตามช่องทางออนไลน์อื่นๆ ของโรงพยาบาลบางปะกอก 1
Website : https://www.bangpakok1.com/
Facebook : https://bit.ly/3Rfgimm