รู้เท่าทัน เพื่อป้องกัน โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
รู้เท่าทัน เพื่อป้องกัน โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
โรคกระเพาะอาหารเป็นโรคระบบทางเดินอาหารที่พบได้มากขึ้นในปัจจุบัน ที่มาจากพฤติกรรมอันเร่งรีบของคนในยุคนี้ ทำให้มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้องและพบว่าผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการเป็นๆ หายๆ
ซึ่งโรคนี้ไม่ใช่โรคที่รุนแรง แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะหากปล่อยไว้นานอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือมีเลือดไหลในกระเพาะ จนเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้ และยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
สาเหตุการเกิดโรคกระเพาะอาหาร
- การติดเชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร หรือเรียกสั้นๆ ว่า เอช ไพโร (H.Pylori) เป็นเชื้อแบคทีเรยที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารและน้ำดื่ม
- การรับประทานยากลุ่มยาต้านการอักเสบหรือยาแก้ปวดกลุ่มเอนเสดส์ (NSAIDs) เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ (Steroid) และยาต้านเกล็ดเลือด
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม
- การสูบบุหรี่
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ความเครียด วิตกกังวล หรือการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ทานอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด หรือเปรี้ยวจัด
อาการของโรค
- ปวด เสียด จุก แน่นบริเวณกระเพาะอาหาร (ใต้ลิ้นปี่) แบบเป็นๆ หายๆ
- ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอบ่อย
- ปวดท้องก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร
- คลื่นไส้ อาเจียนหลังรับประทานอาหาร
- อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด เนื่องจากมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร
การรักษา
สามารถรักษาได้ 2 แบบคือ
- การรักษาด้วยยา โดยรักษาตามสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการในผู้ป่วยแต่ละราย
- การรักษาโดยไม่ใช้ยา เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตแล้วแต่อาการยังไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น การตรวจโดยการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร (Gastroscope: EGD) เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกวิธี
วิธีการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดโรคกระเพาะอักเสบ
- หลีกเลี่ยงความเครียด ความวิตกกังวล
- รับประทานอาหารตรงเวลาทุกมื้อ
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด และอาหารหรือผลไม้ที่หมักดอง
- หลีกเลี่ยงของมัน ของทอด และอาหารที่ย่อยยาก
- ลดการปรุงรสอาหารเพิ่ม
- ไม่ควรปล่อยให้ท้องว่างเกิน 3 ชั่วโมง
- ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อไม่ให้กระเพาะอาหารทำงานหนักเกินไป
- งดสูบบุหรี่
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ติดตามช่องทางออนไลน์อื่นๆ ของโรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ
Website : https://www.bpksamutprakan.com/
Facebook : https://www.facebook.com/Bangpakoksamutprakan
LINE Official Account : https://lin.ee/7EFV8ra