เคล็ดไม่ลับ การเลือกอาหาร สำหรับผู้มีความดันโลหิตสูง
เคล็ดไม่ลับ การเลือกอาหาร สำหรับผู้มีความดันโลหิตสูง
ติดตามช่องทางออนไลน์อื่นๆ ของโรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ
Website : https://www.bpksamutprakan.com/
Facebook : https://www.facebook.com/Bangpakoksamutprakan
LINE Official Account : https://lin.ee/7EFV8ra
ยิ่งอายุมากขึ้น ก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง เพราะร่างกายจะเผาผลาญพลังงานได้น้อยลง ในขณะที่เรายังรับประทานของอร่อยๆ เข้าไปเหมือนเดิม จนเกิดเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่างๆ ในร่างกาย
อีกทั้งโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่อันตรายมากอีกหนึ่งโรค เพราะในช่วงแรกผู้ป่วยมักจะไม่ค่อยมีอาการใดๆ กว่าจะรู้ตัวก็เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอื่นๆ ตามมาได้ การเลือกอาหารที่เหมาะสมจะช่วยในการควบคุมความดันโลหิตได้เช่นกัน เนื่องจากสารอาหารหลายชนิดมีผลต่อการควบคุมความดันโลหิตได้
อาหารสำหรับผู้มีความดันโลหิตสูง
- ผักและผลไม้ เพราะผักและผลไม้ช่วยลดความดันโลหิตได้ เนื่องจากมีสารอาหารที่สำคัญ เช่น โพแทสเซียม แมกนีเซียม และเส้นใยอาหาร ที่มีส่วนช่วยทำให้ความดันลดลงได้
- ผักใบเขียว บล็อคโคลี่ คะน้า มีประโยชน์ในการช่วยลดความดันโลหิต
- แครอท มีโพแทสเซียมที่เป็นแร่ธาตุที่ช่วยสร้างสมดุลของโซเดียม และช่วยขับโซเดียมออกจากร่างกายในรูปแบบปัสสาวะ ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องในการลดความดันโลหิตได้
- ส้ม อุดมไปด้วยวิตามินซี และใยอาหาร อีกทั้งยังมีปริมาณโซเดียมค่อนข้างต่ำ จึงช่วยในกระบวนการไหลเวียนโลหิต ทำให้ร่างกายควบคุมควมดันโลหิตได้อย่างสมดุล
- กล้วยหอม มีโพแทสเซียมสูง จึงมีส่วนลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดจากสมองที่สาเหตุมาจากโรคความดันโรคสูงได้
- ธัญพืชไม่ขัดสี เป็นแหล่งของเส้นใยอาหาร ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต
- ข้าวกล้อง มีไขมันต่ำ ปราศจากคอเลสเตอรอลและไขมันทรานส์ จึงช่วยลดการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ
- ข้าวโอ๊ต ช่วยลดคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตได้
- ควินัว มีโปรตีนและแมกนีเซียมสูง
- ข้าวบาร์เลย์ มีใยอาหารสูง
- อาหารที่มีไขมันดี เช่น ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตได้
- น้ำมันมะกอก
- น้ำมันคาโนล่า
- อะโวคาโด
- ถั่วและเมล็ดพืช เช่น อัลมอนด์ วอลนัท เมล็ดเชีย
- ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ หรือไม่มีไขมัน เป็นแหล่งของแคลเซียม โปรตีน และวิตามินดี ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างกระดูกและช่วยในการลดความดันโลหิต
- นมไขมันต่ำ
- โยเกิร์ตไขมันต่ำ
- ชีสไขมันต่ำ
- โปรตีนที่ไม่ผ่านการแปรรูป การทานโปรตีนที่ไม่ผ่านการแปรรูปจะช่วยลดการบริโภคไขมันทรานส์และโซเดียม ที่มีผลต่อความดันโลหิต นอกจากนี้การทานอาหารโปรตีนที่มีไขมันต่ำ สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้
- เนื้อปลา เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน
- เนื้อไก่ หมูเนื้อแดงไม่ติดมัน
- ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลันเตา
อาหารที่ควรเลี่ยง
- อาหารเค็ม หรือว่าอาหารที่มีโซเดียมมากเกินไป เช่น กะปิ น้ำปลา ของหมักดอง
- การดื่มแอลกอฮอล์ เพราะทำให้มีโอกาสเป็นความดันเลือดสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์
- อาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อติดมัน ไข่แดง หอยนางรม อาหารประเภทผัดหรือทอด
- งดการสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ ส่งผลให้เกิดการอักเสบ ตีบตัน ของหลอดเลือดต่างๆ
- น้ำตาล ทั้งน้ำตาลที่อยู่ในอาหาร เครื่องดื่ม หรือขนมที่มีรสหวาน
ติดตามช่องทางออนไลน์อื่นๆ ของโรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ
Website : https://www.bpksamutprakan.com/
Facebook : https://www.facebook.com/Bangpakoksamutprakan
LINE Official Account : https://lin.ee/7EFV8ra