Bangpakok Hospital

รู้ทันหัวใจเต้นผิดจังหวะ ด้วยเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา

16 ก.ย. 2567

รู้ทันหัวใจเต้นผิดจังหวะ ด้วยเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา

การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ต้องเริ่มจากการวินิจฉัยชนิดของความผิดปกติและหาตำแหน่งที่เกิดในหัวใจ ปัจจุบันมีอุปกรณ์ Holter Monitor หรือ เคลื่อนบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา ที่ช่วยบันทึกการเต้นของหัวใจตลอด 24 - 48 ชั่วโมง ทำให้สามารถตรวจจับความผิดปกติของหัวใจที่เกิดขึ้นชั่วคราวได้ แม้อยู่ที่บ้านหรือที่ทำงาน จะช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำยิ่งขึ้น

ทำความรู้จักกับเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา

เครื่องบันทึกเครื่องหัวใจไฟฟ้าแบบพกพา หรือ Holter Monitor เป็นการติดตามภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะตลอด 24 ชั่วโมง โดยใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กที่สามารถพกพาได้ อุปกรณ์นี้จะต่อกับสายและแผ่น Electrode ที่ติดบนผิวหนัง เพื่อตรวจจับและบันทึกการทำงานของหัวใจ ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำได้ตามปกติที่บ้านหรือที่ทำงาน และเมื่อครบ 24 หรือ 48 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะต้องกลับมาให้เจ้าหน้าที่ถอดอุปกรณ์ออก และผลการตรวจจะถูกส่งต่อให้แพทย์เพื่อวิเคราะห์ ซึ่งเครื่องบันทึกเครื่องหัวใจไฟฟ้าแบบพกพาเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการใจสั่น หน้ามืด หรือหมดสติบ่อยโดยไม่ทราบสาเหตุ

 

เมื่อใดที่ควรใช้เครื่อง Holter Monitor

  • มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ซึ่งไม่สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจ EKG ปกติ 
  • ใจสั่น หัวใจเต้นแรง เร็ว หายใจไม่ทัน
  • เหนื่อยง่าย หายใจหอบ อ่อนเพลีย
  • เจ็บหน้าอก
  • หน้ามืด ตาลาย วิงเวียนศีรษะ เป็นลม หมดสติ
  • หัวใจหยุดเต้น

 

Holter Monitoring มีประโยชน์อย่างไร

  • ใช้วัดอัตราการเต้นของชีพจรและการตอบสนองระหว่างทำกิจกรรม
  • ใช้ประเมินคลื่นหัวใจไฟฟ้า ผู้ป่วยที่มีอาการใจสั่น หรือหัวใจหยุดเต้นชั่วขณะ 
  • ใช้ประเมินผู้ป่วยที่มีอาการหน้ามืด หรือเป็นลม เพื่อช่วยวินิจฉัยแยกโรค
  • ใช้ติดตามผลและประเมินผลการรักษาผู้ป่วย หลังจากการรักษาด้วยยา หรือผ่านการทำหัตถการ

 

ขั้นตอนและข้อปฏิบัติขณะติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

  1. ติดตั้งอุปกรณ์ เจ้าหน้าที่จะติดแผ่น Electrode บริเวณหน้าอกของผู้ป่วย หากผู้ชายมีขนบริเวณหน้าอกค่อนข้างมากอาจต้องโกนขนบางส่วน เพื่อให้แผน Electrode ติดแนบกับผิวหนังหน้าอกได้ดีขึ้นและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ชัดเจน จากนั้นจะติดตั้งเครื่อง Holter Monitor พร้อมอธิบายการดูแลอุปกรณ์ระหว่างการตรวจ
  2. ข้อควรระวัง ขณะใช้เครื่อง Holter ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่ห้ามอาบน้ำ ว่ายน้ำ หรือทำให้เครื่องและสายขั้วต่อเปียก หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ต้องเคลื่อนไหวแขนมาก ห้ามทำการ X-Ray และหลีกเลี่ยงสถานที่มีสนามแม่เหล็กหรือสายไฟแรงสูง
  1. การใช้งานเครื่อง สามารถนำเครื่อง Holter ไว้ในกระเป๋ากางเกงหรือกระเป๋าเสื้อ และจะมีการจัดเตรียมกระเป๋าและเข็มขัดไว้ให้สามารถสะพายติดตัวไว้ได้ ควรหลีกเลี่ยงการทำเครื่องตก
  1. การบันทึกอาการ เครื่องจะมีปุ่มให้กดเมื่อรู้สึกถึงอาการผิดปกติ
  1. การคืนอุปกรณ์ หลังจากครบ 24 - 48 ชั่วโมง ให้นำเครื่อง Holter มาถอดออกในวันถัดไป และรับผลวินิจฉัย



ติดตามช่องทางออนไลน์อื่นๆ ของโรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ
Website : https://www.bpksamutprakan.com/
Facebook : https://www.facebook.com/Bangpakoksamutprakan
LINE Official Account : https://lin.ee/7EFV8ra




Go to top
Copyright © 2021 Bangpakok Hospital All rights reserved.