Bangpakok Hospital

ภัยร้ายใกล้ตัว จากสารพิษโลหะหนัก

10 ส.ค. 2565

ภัยร้ายใกล้ตัวจากสารพิษโลหะหนัก
ภาวะพิษจากโลหะหนัก (Heavy Metal Poisoning)   
โลหะหนัก หมายถึง ธาตุที่มีค่าความถ่วงจำเพาะมากกว่าน้ำ 5 เท่า ขึ้นไป ซึ่งโลหะหนักบางชนิดมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แมงกานีส (Mn), เหล็ก (Fe), ทองแดง (Cu) และสังกะสี (Zn) เป็นต้น แต่โลหะหนักบางชนิดมีความเป็นพิษต่อร่างกาย เช่น ปรอท (Hg), ตะกั่ว (Pb) และแคดเมียม (Cd) นอกจากนี้สารหนู (As) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มธาตุกึ่งโลหะ (Metalloid) แต่สารหนูมีความเป็นพิษต่อร่างกาย จึงมักจะถูกรวมอยู่ในกลุ่มโลหะหนักที่มีความเป็นพิษด้วย โลหะหนักเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติ ถ้าคนหรือสัตว์เลี้ยงที่บริโภคอาหารและน้ำที่มีโลหะหนักปนเปื้อนเป็นเวลานาน ก็จะทำให้เกิดการสะสมและอาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้
ชนิดของโลหะ 
1. ดีบุก 
ปริมาณปนเปื่อนในอาหารไม่เกิน 250 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เมื่อได้รับสารพิษจะมีอาการ ปวดศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า เบื่ออาหาร พบได้ในอาหารบรรจุกระป๋องที่เคลือบด้วยดีบุก ซึ่งถูกสารเคมีในอาหารนั้น
2. สังกะสี
ปริมาณปนเปื่อนในอาหารไม่เกิน 100 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เมื่อได้รับสารพิษจะมีอาการ อ่อนเพลีย วิงเวียนศรีษะ ท้องร่วง พบได้ในการใช้ภาชนะเคลือบสังกะสีใส่อาหารที่เป็นกรด การตากอาหารบนแผ่นสังกะสี
3. ทองแดง
ปริมาณปนเปื่อนในอาหารไม่เกิน 20 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เมื่อได้รับสารพิษจะมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน อักเสบในช่องท้องและกล้ามเนื้อ พบมากในอาหารทะเล
4. ตะกั่ว
ปริมาณปนเปื้อนไม่เกิน 1 มิิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เมื่อได้รับสารพิษจะมีอาการปวดท้อง น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ประสาทหลอน มือเท้าตก หรืออาจเสียชีวิตได้ มีทั้งอาการเฉียบพลันและเรื้อรัง พบได้จากการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ในบริเวณที่มีการปนเปื้อนของตะกั่ว การใช้ภาชนะผลิตอาหาร เช่นหม้อก๋วยเตี๋ยวที่เชื่อมด้วยตะกั่ว 
5. สารหนู
ปริมาณปนเปื้อนไม่เกิน 2 มิิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เมื่อได้รับสารพิษจะมีอาการตับอักเสบ ทำลายตับและทำลายระบบสมอง พบได้จากการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงในการเกษตร อาหารสัตว์ และอาหารทะเล
6. ปรอท
ปริมาณปนเปื้อนไม่เกิน 0.5 มิิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เมื่อได้รับสารพิษจะมีอาการไม่สามารถควบคุมการทรงตัวได้ชาตามแขนขา แขนขาบิดคล้ายคนพิการ ตาบอด กล้ามเนื้อสั่น สามารถถ่ายทอดจากมารดาสู่บุตรได้ทำให้เด็กเกิดมาพิการทางสมอง พบได้จากสัตว์น้ำ เช่น ปลาหมึก และหอยชนิดต่างๆ เนื่องจากน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยทิ้งลงแม่น้ำ
7. แคดเมียม
ปริมาณปนเปื้อนไม่เกิน 2 มิิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เมื่อได้รับสารพิษจะมีอาการโรคไต กระดูกผุ ปวดบริเวณเอวและหลัง เป็นสารก่อมะเร็งโยเฉพาะมะเร็งปอด พบได้จากอากาศ แหล่งน้ำ แหล่งดินที่ปลูกพืชผลทางการเกษตร ใช้ผลิตแบตเตอรี่
หากสงสัยว่าอาจมีสารพิษโลหะหนักตกค้าง สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจได้ โดยหากตรวจพบว่ามีสารพิษโลหะหนักตกค้างจริง จะมีการรักษาต่อไปอย่างเหมาะสม

ติดตามช่องทางออนไลน์อื่นๆ  ของโรงพยาบาลบางปะกอก 1

Website : https://www.bangpakok1.com/
Facebook : https://www.facebook.com/bangpakok1hospital
LINE Official Account :  https://line.me/ti/p/~@bangpakok1hospital




Go to top
Copyright © 2021 Bangpakok Hospital All rights reserved.