ต้องรับมือยังไง ถ้าลูกเป็นโรคมือ เท้า ปาก
โรคมือ เท้า ปาก ภัยร้ายใกล้ตัว
โรคมือ เท้า ปาก ซึ่งเป็นที่สนใจในหมู่คุณพ่อ คุณแม่ที่มีลูกเล็กๆ เพราะมีการระบาดและทำให้เด็กเสียชีวิตไปหลายคนในสิงคโปร์และมาเลเซีย ทั้งที่จริงแล้ว โรคนี้ไม่ใช่โรคใหม่แต่เป็นโรคที่มีมานานแล้ว ในประเทศไทยเองก็มักพบอยู่เสมอๆ แต่ไม่เป็นข่าว เพราะเป็นแล้วอาการไม่รุนแรง และไม่ทำให้เสียชีวิต แต่สำหรับผู้ปกครองที่กังวลว่าจะเกิดขึ้นกับบุตรหลานของตน หรือเมื่อเกิดขึ้นแล้วควรจะทำอย่างไรดี
โรคมือ เท้า ปาก ซึ่งเป็นที่สนใจในหมู่คุณพ่อ คุณแม่ที่มีลูกเล็กๆ เพราะมีการระบาดและทำให้เด็กเสียชีวิตไปหลายคนในสิงคโปร์และมาเลเซีย ทั้งที่จริงแล้ว โรคนี้ไม่ใช่โรคใหม่แต่เป็นโรคที่มีมานานแล้ว ในประเทศไทยเองก็มักพบอยู่เสมอๆ แต่ไม่เป็นข่าว เพราะเป็นแล้วอาการไม่รุนแรง และไม่ทำให้เสียชีวิต แต่สำหรับผู้ปกครองที่กังวลว่าจะเกิดขึ้นกับบุตรหลานของตน หรือเมื่อเกิดขึ้นแล้วควรจะทำอย่างไรดี
ลักษณะอาการโรคมือ เท้า ปาก
ในเด็กจะมีไข้สูง 3-4 วันและเริ่มมีตุ่มน้ำใส (Vesicle) ขึ้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ปาก ลิ้น เหงือก ในวันแรกของไข้ มีอาการเจ็บร่วมด้วย ทำให้ทานอาหารไม่ได้ มีน้ำลายไหล และอาจมีผื่นขึ้นตามขาทั้ง 2 ข้าง อาการมักจะหายเองภายใน 5-7 วัน ในผู้ใหญ่ ลักษณะอาการจะแตกต่างจากเด็ก คือ มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว แผลในปาก อาจมีผื่นขึ้นหรือไม่มีก็ได้ ส่วนใหญ่ไข้จะลดลงและหายไปเองภายใน 1 สัปดาห์
โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?
โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อ Enterovirus 71 (EV71) Coxasackie Virus ระยะฟักตัว 3 -6 วัน หลังได้รับเชื้อ จึงจะเริ่มเกิดอาการ กลุ่มที่มีความเสี่ยงมักพบได้ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะเด็กอายุ 6 เดือน – 3 ปี
โรคมือ เท้า ปาก ติดต่อกันได้อย่างไร?
- ทางน้ำลาย ได้รับเชื้อจากแผลในปาก
- การได้รับเชื้อเข้าทางปาก จากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส
- เชื้อจะมีอยู่หลังจากมีอาการ โดยเชื้อจะอยู่ในอุจจาระหลายสัปดาห์หรืออาจเป็นหลายเดือน
แนวทางการรักษาโรคมือ เท้า ปาก
โดยทั่วไปอาการจะดีขึ้นเอง แพทย์จะทำการรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ไข้ แต่ปัญหาที่พบบ่อยคือ เด็กบางคนรับประทานอาหารและน้ำไม่ได้ เพราะเจ็บแผลในปาก ไม่ยอมกลืนน้ำลายและไม่ยอมให้ทำความสะอาดในปาก ซึ่งเป็นผลให้แผลหายช้า หรือเป็นมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน แพทย์มักจะให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดหากทานอาหารไม่ได้ และควรจะต้องทำความสะอาดในปากเพื่อให้แผลหายเร็วขึ้น และให้ยาปฏิชีวนะถ้าจำเป็น และหมั่นล้างมือ รับประทานอาหารที่สะอาด และใช้ช้อนกลางตักเสมอ สำหรับผู้ป่วย ควรใส่หน้ากากอนามัย และหมั่นล้างมือเมื่อสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งโดยเฉพาะน้ำมูก น้ำลาย เป็นต้น
สอบถามเพิ่มได้ที่ แผนกกุมารเวช
เปฺิดใหเบริการทุกวันจันทร์ - อาทิตย์
เวลา 08.00 - 16.00 น.
โทร. 02 109 1111 ต่อ 1145
ติดตามช่องทางออนไลน์อื่นๆ ของโรงพยาบาลบางปะกอก 1
Website : https://www.bangpakok1.com/
Facebook : https://www.facebook.com/bangpakok1hospital
LINE Official Account : https://line.me/ti/p/~@bangpakok1hospital
ในเด็กจะมีไข้สูง 3-4 วันและเริ่มมีตุ่มน้ำใส (Vesicle) ขึ้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ปาก ลิ้น เหงือก ในวันแรกของไข้ มีอาการเจ็บร่วมด้วย ทำให้ทานอาหารไม่ได้ มีน้ำลายไหล และอาจมีผื่นขึ้นตามขาทั้ง 2 ข้าง อาการมักจะหายเองภายใน 5-7 วัน ในผู้ใหญ่ ลักษณะอาการจะแตกต่างจากเด็ก คือ มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว แผลในปาก อาจมีผื่นขึ้นหรือไม่มีก็ได้ ส่วนใหญ่ไข้จะลดลงและหายไปเองภายใน 1 สัปดาห์
โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?
โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อ Enterovirus 71 (EV71) Coxasackie Virus ระยะฟักตัว 3 -6 วัน หลังได้รับเชื้อ จึงจะเริ่มเกิดอาการ กลุ่มที่มีความเสี่ยงมักพบได้ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะเด็กอายุ 6 เดือน – 3 ปี
โรคมือ เท้า ปาก ติดต่อกันได้อย่างไร?
- ทางน้ำลาย ได้รับเชื้อจากแผลในปาก
- การได้รับเชื้อเข้าทางปาก จากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส
- เชื้อจะมีอยู่หลังจากมีอาการ โดยเชื้อจะอยู่ในอุจจาระหลายสัปดาห์หรืออาจเป็นหลายเดือน
แนวทางการรักษาโรคมือ เท้า ปาก
โดยทั่วไปอาการจะดีขึ้นเอง แพทย์จะทำการรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ไข้ แต่ปัญหาที่พบบ่อยคือ เด็กบางคนรับประทานอาหารและน้ำไม่ได้ เพราะเจ็บแผลในปาก ไม่ยอมกลืนน้ำลายและไม่ยอมให้ทำความสะอาดในปาก ซึ่งเป็นผลให้แผลหายช้า หรือเป็นมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน แพทย์มักจะให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดหากทานอาหารไม่ได้ และควรจะต้องทำความสะอาดในปากเพื่อให้แผลหายเร็วขึ้น และให้ยาปฏิชีวนะถ้าจำเป็น และหมั่นล้างมือ รับประทานอาหารที่สะอาด และใช้ช้อนกลางตักเสมอ สำหรับผู้ป่วย ควรใส่หน้ากากอนามัย และหมั่นล้างมือเมื่อสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งโดยเฉพาะน้ำมูก น้ำลาย เป็นต้น
สอบถามเพิ่มได้ที่ แผนกกุมารเวช
เปฺิดใหเบริการทุกวันจันทร์ - อาทิตย์
เวลา 08.00 - 16.00 น.
โทร. 02 109 1111 ต่อ 1145
ติดตามช่องทางออนไลน์อื่นๆ ของโรงพยาบาลบางปะกอก 1
Website : https://www.bangpakok1.com/
Facebook : https://www.facebook.com/bangpakok1hospital
LINE Official Account : https://line.me/ti/p/~@bangpakok1hospital