1 ใน 3 ของประชากรไทยเป็นโรคอ้วน
โรคอ้วน คือ ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันมากเกินกว่าปกติหรือมากเกินกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญ จึงสะสมพลังงานที่เหลือเอาไว้ในรูปของไขมันตามอวัยวะต่างๆ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมา
รู้ได้อย่างไรว่าเป็น “โรคอ้วน”
วิธีวัดไขมันมีหลายรูปแบบ โดยที่นิยมกันคือ การวัดจากดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index – BMI และการตรวจวัดรอบเอว โดยทั่วไปแล้ว ควรมีค่า BMI อยู่ที่ระหว่าง 18.5-22.9 kg/m2 หากมากหรือน้อยกว่านี้ จะเกิดภาวะทุพโภชนาการและโรคต่างๆ
ค่า BMI < 18.5 – 22.9 kg/m² เรียกว่า “ปกติ”
ค่า BMI 23.0 – 24.9 kg/m² เรียกว่า “น้ำหนักเกิน”
ค่า BMI > 25 kg/m² เรียกว่า “โรคอ้วน”
สาเหตุของโรคอ้วน
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วน แบ่งออกเป็น ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เป็นโรคอ้วน มักมีสาเหตุจากปัจจัยภายนอก เพราะมีพฤติกรรมการรับประทานที่ตามใจตนเอง จนทำให้รับประทานเกินความต้องการของร่างกาย
ปัจจัยภายนอก ได้แก่
- รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง เนื้อ ไขมัน แป้ง ของหวาน
- รับประทานไม่เป็นเวลา กินจุบกินจิบ
- นั่งๆ นอนๆ เป็นส่วนใหญ่
- ขาดการออกกำลังกาย
- ความผิดปกติของต่อมไรท่อ เช่น ต้อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์
- ภาวะเครียด
- จิตใจและอารมณ์
- กรรมพันธุ์
- โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
- การรับประทานยาบางชนิด
- อายุ เนื่องจากอายุมาก จะมีการใช้พลังงานน้อยลง
ผลกระทบจากโรคอ้วน
ผู้ที่มีภาวะอ้วน จะส่งผลเสียกับร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงต่อการป่วยที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังและอาการต่างๆ ตามมา เช่น
- โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคไขมันในเลือดสูง
- โรคเบาหวาน
- โรคไขมันเกาะตับ
- โรคหัวใจ
- โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
- โรคมะเร็งต่างๆ
- โรคหยุดหายใจขณะหลับ
- ปัญหาทางระบบทางเดินหายใจ
- ภาวะมีบุตรยาก
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ
- ปวดข้อ ข้อเสื่อมก่อนวัย
- โรคผิวหนัง เช่น สิว ขนดก ผิวหนังติดเชื้อ มีกลิ่นตัว เป็นต้น
- อ้วนลงพุง เสี่ยงหลายโรค
โรคอ้วน แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ อ้วนลงพุง และอ้วนทั้งตัว
(จากสถิติขององค์กรอนามัยโลก – WHO พบว่า เกือบหนึ่งในสามของประชากรไทย มีน้ำหนักตัวมากจนเป็นโรคอ้วน)
อ้วนลงพุง เป็นโรคที่มาจากการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ตั้งแต่อาหารการกิน ไม่มีเวลาออกกำลังกาย จนทำให้กลายเป็นโรคอ้วนตามมา คนที่อ้วนลงพุง มักจะมีไขมันสะสมในช่องท้องมากเกินไป ทำให้เกิดเมตาบอลิกซินโดรม ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมาก โดยพบว่าคนที่มีลักษณะท้วม มีโอกาสอ้วนลงพุงได้ถึง 25%
ขอบคุณที่มา : กรมอนามัย, กรมควบคุมโรค
ติดตามช่องทางออนไลน์อื่น ๆ ของโรงพยาบาลบางปะกอก 3
Facebook : https://www.facebook.com/bangpakok3
LINE Official Account : https://page.line.me/947ptrfh
YouTube : https://youtube.com/channel/UCrWTFEyhNwZtPo2JieYZftw